กฟก.นราธิวาส ร่วมพิธีถวายราชสักการะ วางพานพุ่มดอกไม้สด เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง

วันนี้ (14 พฤศจิกายน 2567) เวลา 08.30 น. ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส แห่งที่ 1 นำโดย ว่าที่ร้อยตรี กระกูล โทธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานในพิธีถวายราชสักการะ วางพานพุ่มดอกไม้สด เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ร่วมพิธีอย่างพร้อมเพรียงกัน ในโอกาสนี้ นางเสาวลักษณ์ แก้วประจุ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดนราธิวาส พร้อมคณะพนักงาน เจ้าหน้าที่ ร่วมกิจกรรมดังกล่าว เพื่อตระหนักและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่ทรงเป็นต้นกำเนิดในการสร้างโครงการฝนหลวง แก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และให้มีฝนหลวงใช้จวบจนปัจจุบัน

การปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยในทุก ๆ ปี จังหวัดนราธิวาส ขอสนับสนุนปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับระบบนิเวศน์ในพื้นที่ และป้องกันไฟป่าที่อาจจเกิดขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ป่าพรุโต๊ะแดง และป่าพรุบาเจาะ-ไม้แก่น ซึ่งตั้งแต่ ปี ๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบัน ได้ปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ไปแล้วจำนวน ๑๔๖ วัน ๒๓๔ เที่ยวบิน จำนวนวันฝนตก ๑๑๒ วัน

กฟก.นราธิวาส ร่วมลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเกษตรกรสมาชิก กฟก.

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.30 น. นางเสาวลักษณ์ แก้วประจุ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดนราธิวาส (กฟก.) และเจ้าหน้าที่ประจำสาขา ลงพื้นที่เพื่อร่วมลงนามพยาน ในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฯ ตามมติ คณะรัฐมนตรี 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 พร้อมชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกร ตามหลักเกณฑ์สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฯ โดยมี ผู้อำนวยการสำนักงาน ธกส. (นายนุสนธิ ขุนเพชร) และหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ร่วมลงนามเป็นพยานในสัญญา ซึ่งจังหวัดนราธิวาส มีเกษตรกรสมาชิกมีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการดังกล่าว จำนวน 12 ราย 13 สัญญา

ทั้งนี้คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบในหลักการ การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้เกษตรกรทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิม และให้เกษตรกรทำสัญญาผ่อนชำระเงินต้นคงค้างครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี โดยไม่ เสียดอกเบี้ย สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 และดอกเบี้ยในส่วนที่เกษตรกรไม่ต้องรับภาระ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รัฐบาลจะรับภาระจัดสรรชดเชยให้กับธนาคารฯ เมื่อเกษตรกรได้ชำระหนี้งวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว.

กฟก. นราธิวาส ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และติดตามความก้าวหน้าองค์กรเกษตรกร จำนวน 3 องค์กร

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 นางเสาวลักษณ์ แก้วประจุ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดนราธิวาส มอบหมาย นายตัรมีซีร์ มาหะมุ พนักงานทั่วไป พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และติดตามความก้าวหน้า องค์กรเกษตรกรที่ได้รับงบประมาณ ประเภทงบกู้ยืม จังหวัดนราธิวาส จำนวน 3 องค์กร ได้แก่ 1. กลุ่มกองทุนฟื้นฟูดูกูแคและสัมพันธ์ โครงการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงโคตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 2. กลุ่มผู้เลี้ยงโคบ้านตาเปาะ (มือนารอ) โครงการเลี้ยงแกะยั่งยืนสุวารี 3. กลุ่มเกษตรกรเศรษฐกิจพอเพียง โครงการเกษตรผสมผสานบ้านปาลอบาต๊ะด้านปศุสัตว์ จากการลงพื้นที่ติดตามองค์กรเกษตรกร ได้ดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามแผนโครงการ และมีแผนจะชำระเงินคืนกองทุนฟื้นฟูฯ ตามแผนการชำระเงินคืน ต่อไป

กฟก. นราธิวาส ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และติดตามความก้าวหน้าองค์กรเกษตรกร 4 องค์กร

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 นางเสาวลักษณ์ แก้วประจุ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดนราธิวาส มอบหมาย นายตัรมีซีร์ มาหะมุ พนักงานทั่วไป พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และติดตามความก้าวหน้า องค์กรเกษตรกรที่ได้รับงบประมาณ ประเภทงบกู้ยืม จังหวัดนราธิวาส จำนวน 4 องค์กร ได้แก่ 1. กลุ่มเกษตรกรบ้านบริวารโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตแพะ และสร้างมูลค่าเพื่อการส่งออก 2. กลุ่มเกษตรกรทำสวนกะลุวอ โครงการเลี้ยงโคเสริมรายได้ 3. กลุ่มผู้ลี้ยงโคบางนรา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเพื่อความยั่งยืน 4. กลุ่มเรามีเรา โครงการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงเป็ดบาบารี่บ้านทอน จากการลงพื้นที่ติดตามองค์กรเกษตรกร ได้ดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามแผนโครงการ และมีแผนจะชำระเงินคืนกองทุนฟื้นฟูฯ ตามแผนการชำระเงินคืน ต่อไป